เกาะติดสถานการณ์พายุปาบึก 'PABUK'

Last updated: 5 ม.ค. 2562  |  3280 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เกาะติดสถานการณ์พายุปาบึก 'PABUK'

'พายุปาบึก' มาจากพายุดีเปรสชัน TD36W ซึ่งทวีกำลังขึ้นเป็นพายุโซนร้อน 'พายุปาบึก' ตั้งมาจากชื่อ ปลาบึก ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อตัวทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้านตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้

 Crystal Bay Live Stream From Lamai, Koh Samui, Thailand | Live HD Webcam | SamuiWebcam

 


เหตุการณ์วันนี้

  • เวลา 07.00 น. 4/1/62 อัพเดทข้อมูลจาก JMA พายุโซนร้อน “ปาบึก” PABUK พิกัดล่าสุดเวลานี้อยู่ที่ N7°55′ E101°30′ กำลังเคลื่อนตัวไปทาง WNW ด้วยความเร็ว 25 กม./ชม ความเร็วลม กศก 45 น็อต ความกดอากาศ 994 hPa จุดขึ้นฝั่งเย็นวันนี้อยู่ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช เส้นทางนี้จะเฉียดผ่านแหลมตะลุมพุกในระยะประชิด ด้วยความเร็วลมขณะขึ้นฝั่ง 50 น็อต หรือ มากกว่า 92 กม./ชม. (น้อยกว่าแฮเรียดในปี 2505) ความกดอากาศ 992 hPa

เมื่อวันอังคารที่ 1 มกราคม 2562 นายภูเวียง ประคำมินทร์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) แล้ว โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 6.1 องศาเหนือ ลองจิจูด 109.8 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศใต้ค่อนทางตะวันตกเล็กน้อยอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวน และเคลื่อนลงอ่าวไทยในช่วงวันที่ 2-3 มกราคม 2562 โดยจะมีผลกระทบต่อภาคใต้ในช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากไว้ด้วย โดยมีผลกระทบดังนี้

ในช่วงวันที่ 3-4 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กระบี่ ตรัง และสตูล

ในช่วงวันที่ 4-5 มกราคม 2562 จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2-4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกระวังอันตรายจากคลื่นลมแรงที่พัดเข้าหาฝั่ง ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2562

ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลข่าวพยากรณ์อากาศ และประกาศเตือนภัยได้ที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ “ปาบึก” (PABUK)" ฉบับที่ 9 ลงวันที่ 2 มกราคม 2562

 


ขอบคุณภาพจาก @MrVop

เกาะติดสถานการณ์พายุปาบึก 'PABUK'

  1. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สั่ง กระทรวงมหาดไทยประชุมเตรียมบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมเร่ง อพยพประชาชนไปยังพื้นที่ปลอดภัย ย้ำรัฐบาลเร่งแก้ปัญหาเต็มที่ ขอประชาชนติดตามข่าวสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด (2 มกราคม 2562 - 14:00 น.)
  2. กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) ประชุมเตรียมพร้อมเผชิญเหตุกรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก” ในวันพุธที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 15.00 น. ณ ห้องประชุมราชสีห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมี พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กรมชลประทาน ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม และเหล่าทัพ เข้าร่วมประชุม  (2 มกราคม 2562 - 15:00 น.)
  3. วันที่ 2 มกราคม 2562 เวลา 22.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศฉบับที่ 10 ลงวันที่ 2 มกราคม 2562 เรื่อง "พายุ “ปาบึก” (PABUK)" อ่านต้นฉบับ
  4. ข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บภัยพิบัติ Paipibat.com และ Windy

ย้อนหลังพายุโซนร้อนพัดขึ้นฝั่งประเทศไทย 

จากอดีตที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยเคยมีพายุโซนร้อน-พายุไต้ฝุ่น พัดขึ้นฝั่งมาเป็นระยะๆ หากนับระยะเวลาจากพายุโซนร้อนลินดา พัดขึ้นฝั่งประจวบคีรีขันธ์เมื่อปี 2540 หรือเมื่อราว 21 ปีก่อน พายุโซนร้อนปาบึก จึงถือเป็นพายุลูกใหญ่ที่สุดในรอบ 20 ปี ก็ว่าได้ ที่จะพัดขึ้นเข้าประเทศไทย แต่ยังถือว่า เป็นพายุที่มีความเร็วใกล้จุดศูนย์กลางน้อยที่สุด คือราว 65 กม./ชม. เท่านั้น

ภาพถ่ายดาวเทียม พายุโซนร้อนปาบึก

พายุโซนร้อน แฮเรียต

หากย้อนหลับไปเมื่อราว 37 ปีก่อน (พ.ศ.2505) พายุโซนร้อนแฮเรียต พัดขึ้นฝั่งประเทศไทยในช่วงเดือน ต.ค. โดยก่อตัวขึ้นราวฝันที่ 22 ต.ค. ก่อนจะสลายตัวไปในวันที่ 30 ต.ค. 2505

พายุแฮเรียต มีความเร็วลมใกล้จุดสูงกลางสูงถึง 90 กม./ชม.  โดยขึ้นฝั่งที่แหลมตะลุมพุก ก่อให้เกิดความเสียหายกับทางภาคใต้ของประเทศอย่างมาก กินพื้นที่ 12 จังหวัดภาคใต้

พายุไต้ฝุ่นเกย์

พายุไต้ฝุ่นนั้นเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากกว่า พายุโซนร้อน ซึ่งพายุไต้ฝุ่นเกย์นั้น ก่อตัวขึ้นทางอ่าวไทยช่วงวันที่ 1 พ.ย. 2532 หลังจากนั้นพัดข้ามคาบสมุทรมลายู และทวีกำลังแรงขึ้นเรื่อย ก่อนสลายตัวไปในวันที่ 10 พ.ย. 2532

พายุเกย์นั้นพัดขึ้นฝั่งบริเวณอ.บางสะพาน อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขัน, อ.ท่าแซะ อ. ปะทิว จังหวัดชุมพร ด้วยความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางราว 185 กม./ชม.

พายุใต้ฝุ่นลินดา

ก่อตัวขึ้นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง ก่อนทวีความรุนแรงเป็นพายุโซนร้อน และเคลื่อนตัวผ่านประเทศเวียดนาม หลังจากนั้นได้เพิ่มความรุนแรงขึ้นไปอีก กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น เคลื่อนตัวเข้าอ่าวไทยก่อนจะเริ่มอ่อนกำลังลงอีกครั้ งกลายเป็นพายุโซนร้อนลินดา ขึ้นฝั่งที่บริเวณอ.ทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีความเร็วลมใกล้จุดศูนย์กลางราว 80 กม./ชม

พายุโซนร้อนลินดา ได้สลายตัวไปในช่วงวันที่ 10 พ.ย. 2540 หลังจากก่อตัวครั้งแรกในช่วงประมาณวันที่ 31 ต.ค. 2540


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้