ประกาศรับสมัครกรรมการ ป.ป.ช. 1 ตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคม 2565

Last updated: 20 ส.ค. 2565  |  1742 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกาศรับสมัครกรรมการ ป.ป.ช. 1 ตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคม 2565

ประกาศรับสมัครกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 ตำแหน่ง ระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคม 2565 หลังจากก่อนหน้านี้สรรหามาแล้ว 2 ครั้ง

วันที่ 16 สิงหาคม 2565 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ในฐานะหน่วยงานธุรการ ประกาศรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) แทนตำแหน่งที่ว่างจำนวน 1 คน โดยเปิดรับสมัครระหว่างวันที่ 18-27 สิงหาคม 2565

สำหรับประกาศคณะกรรมการสรรหาฯ ระบุว่า โดยที่ปรากฏว่าวุฒิสภาในคราวประชุมครั้งที่ 19 (สมัยสามาญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ได้ประชุมพิจารณาบุคคลผู้ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง ป.ป.ช.แทนกรณี พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง ที่ดำรงตำแหน่งครบวาระ ตามที่คณะกรรมการสรรหาฯ เสนอแล้ว ผลการออกเสียงลงคะแนนลับปรากฏว่า ผู้ได้รับการเสนอชื่อได้รับความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียงน้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา จึงถือว่าไม่ได้รับความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง ดังนั้นคณะกรรมการสรรหาฯ จึงต้องดำเนินการสรรหาบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. จำนวน 1 คน

ทั้งนี้ ผู้สมัครสามารถยื่นใบสมัครด้วยตนเอง ตามกำหนดวันดังกล่าวในเวลาราชการ โดยไม่เว้นวันหยุดราชการ ณ จุดรับสมัคร บริเวณห้องโถง ชั้น 1 อาคารรัฐสภา (ฝั่งวุฒิสภา) เลขที่ 1111 ถนนสามเสน แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ

สำหรับการสรรหากรรมการ ป.ป.ช. 1 ตำแหน่ง ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการสรรหาฯ ได้ดำเนินการสรรหามาแล้ว 2 ครั้ง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2564 คณะกรรมการสรรหาได้มีมติเลือก นายจาตุรงค์ สรนุวัตร ผู้พิพากษาศาลฎีกาเป็นกรรมการ ป.ป.ช. ต่อมามีรายงานว่า นายจาตุรงค์ ได้ยื่นหนังสือถอนตัว

ต่อมาในการสรรหาครั้งที่ 2 มีรายงานว่าคณะกรรมการสรรหาฯ พิจารณาลงมติถึง 3 ครั้งกระทั่งมีมติเลือก ศ.อารยะ ปรีชาเมตตา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นกรรมการ ป.ป.ช. กระทั่งวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติ 146 ต่อ 38 เสียงไม่เห็นชอบให้ดำรงตำแหน่ง โดยมีรายงานข่าวว่า ในช่วงที่มีการประชุมลับนั้นมีการระบุถึงกรณีที่มีคนส่งเรื่องร้องเรียนมายัง กมธ.ตรวจสอบประวัติฯ โดยอ้างว่า ศ.อารยะ มีพฤติการณ์และแนวคิดทางการเมืองตรงข้ามฝ่ายอนุรักษ์นิยม จึงนำไปสู่การอภิปรายในที่ประชุมลับ กระทั่งที่ประชุม ส.ว.มีมติไม่เห็นชอบในที่สุด

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้