Last updated: 5 พ.ค. 2568 | 192 จำนวนผู้เข้าชม |
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เผย ดีอี ยกระดับศูนย์ AOC 1441 สู่ ศปอท. เพิ่มประสิทธิภาพบูรณาการข้อมูลปราบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี
เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2568 นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ครั้งที่ 3/2568 ที่มีศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอี เป็นรองประธานกรรมการฯ นายเอกพงษ์ หริ่มเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงดีอี เป็นเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมด้วยตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมการค้าผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลไทย (TDO) ร่วมหารือเพื่อดำเนินงานการตามนโยบายปราบปรามภัยออนไลน์ของรัฐบาล น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
นายประเสริฐ กล่าวว่า รัฐบาล นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้ความสำคัญกับการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ ซึ่งมีผลกระทบต่อประชาชนเป็นอย่างมาก โดยปัจจุบัน พระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2568 ที่ผ่านมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังดำเนินการกำหนดมาตรการเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.ก. ทั้ง 2 ฉบับ
สำหรับในการประชุมได้มีการพิจารณาผลดำเนินการและมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ 8 เรื่องสำคัญ ที่มีผลการดำเนินงาน ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยสรุปได้ดังนี้
1.การปราบปรามจับกุมคดีอาชญากรรมออนไลน์ เดือน มีนาคม 2568 (ข้อมูลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ)
2. การปิดโซเชียลมีเดีย เว็บผิดกฎหมาย และเว็บพนันออนไลน์ (ปีงบประมาณ 68 ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2567 – 31 มีนาคม 2568)
3. การแก้ปัญหาบัญชีม้า เร่งอายัด ตัดตอนการโอนเงิน ผลการดำเนินงานที่สำคัญถึง 31 มีนาคม 2568 มีดังนี้
4. การดำเนินการเรื่องเสาโทรคมนาคม สายสัญญาณอินเทอร์เน็ต และสายโทรศัพท์ที่ผิดกฎหมายตามแนวชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน กสทช. ได้ดำเนินมาตรการฯ ดังนี้
ผลการดำเนินการตามมาตรการระงับ IP Address
ผลการดำเนินการตามมาตรการลงทะเบียน Sender Name การตรวจสอบ SMS แนบลิงก์ URL
5. มาตรการ Mobile Cleansing
ความคืบหน้าการดำเนินมาตรการ Mobile Banking เมื่อมีการดำเนินการในระยะที่ 1 เสร็จสิ้นแล้วในวันที่ 30 เมษายน 2568 โดยธนาคารจะส่งข้อมูลผู้ใช้ Mobile Banking ที่เป็นปัจจุบันจนถึงวันที่ 30 เมษายน 2568 ไปให้ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator) ขั้นตอนที่ 2 โอเปอร์เรเตอร์ จะนำข้อมูลส่งผ่านระบบของ ปปง. เพื่อตรวจสอบกับข้อมูลลูกค้า ว่าอยู่ในกลุ่มใด จากนั้นในเดือนพฤษภาคม 2568 ธนาคารส่งข้อมูลผู้เปิดใช้ Mobile Banking เพื่อให้โอเปอร์เรเตอร์ตรวจสอบอีกครั้ง และให้ธนาคารเริ่มดำเนินการตรวจสอบผลและเริ่มระงับการใช้บริการ Mobile Banking ในเดือนมิถุนายน 2568
6. การจัดตั้ง ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอท.)
ตามมาตรา 8/5 แห่งพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 กำหนดให้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ศปอท.) ซึ่งเป็นการยกระดับศูนย์ AOC 1441 โดย "ศปอท." จะเป็นกลไกหลักในการรับแจ้งเหตุ รับคำร้องทุกข์ สั่งระงับธุรกรรมทางการเงิน ประสานงานวิเคราะห์ข้อมูล และสามารถดำเนินคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว ครบวงจร และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนี้
7. การเตรียมความพร้อมเพื่อบังคับใช้ พ.ร.ก.มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ของ ปปง.
8. มาตรการกำกับดูแลแพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลต่างประเทศ
ภายหลัง พ.ร.ก.สินทรัพย์ดิจิทัล (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2568 มีผลบังคับใช้ Binance Global ได้ประกาศเลิกให้บริการ P2P สำหรับเงินบาท เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.ก.ฯ โดย ก.ล.ต.จะเป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบ และส่งข้อมูลแพลตฟอร์มซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ได้รับอนุญาต เพื่อเป็นข้อมูลให้กระทรวงดีอี พิจารณาดำเนินการปิดกั้นช่องทางการเข้าถึงแพลตฟอร์ม
“ภายหลังที่ พ.ร.ก.ทั้ง 2 ฉบับมีผลบังคับใช้ กระทรวงดีอี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งรัดการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับ พ.ร.ก.ฯ โดยการบูรณาการยกระดับ ศูนย์ AOC 1441 เป็นศูนย์ “ศปอท.” ซึ่งจะครอบคลุมในการดูแลให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมออนไลน์ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการเตรียมออกกฎกระทรวง เพื่อการบังคับใช้ในการกวาดล้างอาชญากรรมออนไลน์ บัญชีม้าและซิมม้า และเร่งการอายัดบัญชีธนาคาร ระงับบัญชีม้า ตัดเส้นทางการเงิน การปิดกั้นโซเชียลมีเดียหลอกลวงผิดกฎหมาย และเว็บพนันออนไลน์ รวมทั้งการเยียวยาผู้เสียหาย” รองนายกประเสริฐ กล่าว
หากประชาชนโดนหลอกออนไลน์ โทรแจ้งดำเนินการ ระงับ อายัดบัญชี AOC 1441 แจ้งเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ โทรสายด่วน 1111 (24 ชม.) | Line ID: @antifakenewscenter | เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com