ครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการฟ้องคดีปิดปากฯ ใครโกงแล้วฟ้องโทษไม่เกิน 10 ปี พนักงานรัฐโดน 2 เท่า

Last updated: 25 ม.ค. 2565  |  3990 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการฟ้องคดีปิดปากฯ ใครโกงแล้วฟ้องโทษไม่เกิน 10 ปี พนักงานรัฐโดน 2 เท่า

คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการ (ร่าง) พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. ....

เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการ (ร่าง) พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. เสนอ และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

(ร่าง) พระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ. .... เป็นการเสนอให้มีกฎหมายเพื่อให้เป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ฉบับปรับปรุง) ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งได้กำหนดให้มีกฎหมายเพื่อป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก (Anti-SLAPP Law)

ร่างกฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่กำหนดให้มีกลไกส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการต่อต้านหรือชี้เบาะแสการทุจริตและประพฤติมิชอบ และบุคคลเหล่านี้จะได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามกฎหมาย โดยกฎหมายได้กำหนดให้ความคุ้มครองแก่บุคคลซึ่งได้แสดงความคิดเห็น ให้ถ้อยคำแจ้งเบาะแสหรือข้อมูล หรือมีการกล่าวหา เกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานของรัฐหรือบุคคลใดอันเป็นที่มาของการสอบสวน การตรวจสอบ หรือการไต่สวนในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบหรือความผิดที่เกี่ยวข้องกัน และบุคคลดังกล่าวตกเป็นเหยื่อจากการถูกนำกระบวนการยุติธรรมมาใช้เป็นเครื่องมือโดยมิชอบ หรือเพื่อกลั่นแกล้ง ด้วยวิธีการฟ้องคดีปิดปาก (SLAPP) ไม่ว่าจะเป็นการถูกฟ้องคดีในทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง รวมไปถึงการดำเนินการทางวินัย

โดยมีหลักการเพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายกลางที่บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาล รวมถึงหน่วยงานของรัฐ ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาว่าการดำเนินคดีหรือการฟ้องคดีในลักษณะที่เป็นการฟ้องคดีปิดปากนั้นได้กำหนดให้หน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมดังกล่าวมีอ านาจพิจารณาและรวบรวมพย านหลักฐานที่ส าคัญและ รับฟังได้ ว่าเป็นการฟ้องคดีปิดปาก ทั้งนี้เพื่อนำมาประกอบดุลยพินิจในการพิจารณาสั่งคดีหรือยุติการดำเนินการในทางแพ่ง ทางอาญา และทางปกครอง แล้วแต่กรณี กับผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากได้อย่างร วดเร็ วอันเป็นการระงับความเสียหายที่จะเกิดแก่ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากได้ทันท่วงทีและกำหนดให้ผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากผู้ฟ้องคดีปิดปาก (หรือเรียกว่าการฟ้องปิดปากกลับ (SLAPPback)) โดยกำหนดให้ศาลมีอำนาจกำหนดมูลค่าความเสียหายจากการถูกฟ้องคดีปิดปาก รวมถึงค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดี ค่าทนายความ ค่าขาดประโ ยชน์ทำมาหาได้ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ให้กับผู้ถูกฟ้องคดีได้ตามที่ศาลเห็นสมควรโดยคำนึงถึงพฤติการณ์และความร้ายแรงในการฟ้องคดีปิดปากอีกด้วย โดยกลไกเหล่านี้ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายป้องกันการฟ้องคดีปิดปาก (Anti-SLAPP Law) ในระดับสากล

นอกจากนี้ ในร่างกฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดมาตรการส่งเสริมในการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากโดยกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเข้ามาสนับสนุนการพิจารณาการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการฟ้องคดีปิดปากและเป็นหน่วยงานกลางในการประสานข้อมูลและการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือการฟ้องคดีปิดปาก เพื่อช่วยเหลือผู้ถูกฟ้องคดีปิดปากได้อีกช่องทางหนึ่ง ทั้งนี้ หลักการของร่างกฎหมายดังกล่าวนอกจากสอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านการป้องกันแล ะปร าบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบแล้ว ยังสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 – 2565) แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (UNCAC) อีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้