ประกาศ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ยุบบอร์ด “กสท.-กทค.” คงเหลือบอร์ด กสทช.ชุดเดียว

Last updated: 12 ธ.ค. 2560  |  2874 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ประกาศ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ ยุบบอร์ด “กสท.-กทค.” คงเหลือบอร์ด กสทช.ชุดเดียว

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และให้ยุบบอร์ดย่อยของ กทสช.คือ กสท. และ กทค.ทันที โดยให้เหลือเพียงบอร์ด กสทช.ชุดใหญ่เพียงชุดเดียว

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 โดยมีรายละเอียดว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อให้สอดคล้องกับ การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอมของ สภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ กํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 6 ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ เรียกโดยย่อว่า “กสทช.” จํานวนเจ็ดคน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม
หน้า 60 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

ตามมาตรา 7 และมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกิจการกระจายเสียง ด้านกิจการโทรทัศน์ ด้านกิจการ โทรคมนาคม ด้านวิศวกรรม ด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐศาสตร์ และด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือ ส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้านละหนึ่งคน ทั้งนี้ ที่จะยังประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. ให้เลขาธิการ กสทช. เป็นเลขานุการ กสทช.” มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 7 กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้ ก. คุณสมบัติทั่วไป ( 1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด และ ( 2) มีอายุไม่ต่ํากว่าสี่สิบปี แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปี ข. ลักษณะต้องห้าม ( 1) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ( 2) เป็นผู้ดํารงตําแหน่งใดในพรรคการเมือง ( 3) เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ( 4) ติดยาเสพติดให้โทษ ( 5) เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต ( 6) เป็นบุคคลที่ต้องคําพิพากษาให้จําคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล ( 7) เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทําความผิดใด เว้นแต่เป็นความผิดอันได้ กระทําโดยประมาท ความผิดลหุโทษ หรือความผิดฐานหมิ่นประมาท ( 8) เคยถูกไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกจากราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือจากหน่วยงานของเอกชน เพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง หรือถือว่ากระทํา การทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ( 9) เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ํารวย ผิดปกติหรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ( 10) เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน กรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติ ( 11) เคยถูกวุฒิสภามีมติให้ถอดถอนออกจากตําแหน่ง
หน้า 61 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

( 12) เป็นหรือเคยเป็นกรรมการ ผู้จัดการ ผู้บริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผู้ถือหุ้นหรือ หุ้นส่วนในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่นใดบรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม ในระยะเวลาหนึ่งปีก่อนได้รับการคัดเลือกตามมาตรา 15 ( 13) อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ( 14) เคยเป็นผู้ต้องพ้นจากตําแหน่งกรรมการ หรือผู้บริหารบริษัทมหาชนจํากัดเพราะเหตุ มีลักษณะที่แสดงถึงการขาดความเหมาะสมที่จะได้รับความไว้วางใจให้บริหารจัดการกิจการที่มีมหาชนเป็น ผู้ถือหุ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์” มาตรา 5 ให้ยกเลิกส่วนที่ 2 การได้มาซึ่งรายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ โดยวิธีการคัดเลือกกันเอง มาตรา 9 ถึงมาตรา 13 ในหมวด 1 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ กํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 6 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 14 เมื่อมีเหตุต้องมีการเลือกและแต่งตั้งกรรมการ ให้มีคณะกรรมการสรรหา กรรมการคณะหนึ่ง ทําหน้าที่คัดเลือกผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการ ประกอบด้วย (1) ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลรัฐธรรมนูญ จํานวนหนึ่งคน (2) ผู้พิพากษาในศาลฎีกาซึ่งดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาหรือผู้พิพากษาอาวุโส ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา จํานวนหนึ่งคน (3) ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด จํานวนหนึ่งคน (4) กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุม คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จํานวนหนึ่งคน (5) กรรมการตรวจเงินแผ่นดินซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จํานวนหนึ่งคน (6) ผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งได้รับคัดเลือกโดยที่ประชุมผู้ตรวจการแผ่นดิน จํานวนหนึ่งคน (7) ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้คณะกรรมการสรรหาตามวรรคหนึ่งเลือกกรรมการสรรหาคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการสรรหา ประธานและกรรมการสรรหาไม่มีสิทธิสมัครเป็นกรรมการ
หน้า 62 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

ในกรณีที่ไม่มีกรรมการสรรหาในตําแหน่งใด หรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ากรรมการสรรหาที่เหลืออยู่นั้น มีจํานวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการสรรหาประกอบด้วย กรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาทําหน้าที่เป็นหน่วยธุรการในการดําเนินการสรรหาและคัดเลือก กรรมการ” มาตรา 7 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 14/1 และมาตรา 14/2 แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “มาตรา 14/1 ก่อนดําเนินการประกาศรับสมัครตามมาตรา 15 ให้คณะกรรมการสรรหา กําหนดลักษณะของความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และผลงานของแต่ละด้านที่จะยังประโยชน์ต่อ การปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. แล้วประกาศให้ทราบทั่วกัน มาตรา 14/2 ผู้มีสิทธิสมัครเข้ารับการสรรหาเพื่อเป็นกรรมการต้องมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ (1) เป็นหรือเคยเป็นข้าราชการพลเรือน พนักงานในหน่วยงานอื่นของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ที่ดํารงตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองหัวหน้าส่วนราชการตั้งแต่ระดับกรมขึ้นไป หรือรองหัวหน้าหน่วยงานอื่น ของรัฐที่เป็นนิติบุคคลหรือรัฐวิสาหกิจ หรือ (2) เป็นหรือเคยเป็นนายทหารหรือนายตํารวจที่มียศตั้งแต่พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก หรือพันตํารวจเอก อัตราเงินเดือนพันเอกพิเศษ นาวาเอกพิเศษ นาวาอากาศเอกพิเศษ หรือพันตํารวจเอกพิเศษ ขึ้นไป หรือ (3) ดํารงตําแหน่งหรือเคยดํารงตําแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป หรือ (4) เป็นหรือเคยเป็นผู้บริหารมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีในตําแหน่งไม่ต่ํากว่ารองกรรมการ ผู้จัดการในบริษัทมหาชนจํากัดที่มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้านบาท หรือ (5) มีประสบการณ์การทํางานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคหรือส่งเสริมสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชนอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี หรือ (6) มีประสบการณ์ด้านการบริหารกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการ โทรคมนาคมอย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องมาแล้วไม่น้อยกว่าสิบปี” มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 15 ในการดําเนินการคัดเลือกกรรมการ ให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภาประกาศ การเปิดรับสมัครบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามมาตรา 6 ให้ทราบเป็นการทั่วไปผ่านทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างน้อยสามสิบวันติดต่อกัน
หน้า 63 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการสรรหาพิจารณาคัดเลือกผู้สมัคร ซึ่งมีคุณสมบัติที่จะเป็นกรรมการให้ได้จํานวนสองเท่าของจํานวนกรรมการที่จะพึงมีในแต่ละด้านภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรายชื่อผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจากสํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา หลักเกณฑ์และวิธีการคัดเลือกให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการสรรหากําหนด โดยแต่ละด้านให้ผู้ที่ ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงตามลําดับเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ในกรณีที่มีการฟ้องคดีเกี่ยวกับการสรรหากรรมการต่อศาลปกครอง การฟ้องคดีดังกล่าวไม่เป็น เหตุให้ระงับหรือชะลอการดําเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการสรรหาที่ได้ดําเนินการไปแล้ว เว้นแต่ศาลปกครอง จะมีคําพิพากษาหรือคําสั่งเป็นอย่างอื่น ในการนี้ หากศาลปกครองมีคําพิพากษาหรือคําสั่งใด ๆ อันเป็น ผลให้บุคคลที่ได้รับการคัดเลือกขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือได้รับการคัดเลือกโดยไม่ชอบด้วย กฎหมาย กรณีเช่นว่านั้น ไม่มีผลกระทบต่อกิจการที่บุคคลนั้นได้กระทําไว้แล้วก่อนมีคําพิพากษาหรือ คําสั่งดังกล่าว” มาตรา 9 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 4 การเลือกและการแต่งตั้งกรรมการ มาตรา 16 ถึงมาตรา 18 ของหมวด 1 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม แห่งชาติ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ส่วนที่ 4 การเลือกและการแต่งตั้งกรรมการ

มาตรา 16 เมื่อได้รายชื่อผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการจากการสรรหาตามส่วนที่ 3 แล้ว ให้เลขาธิการวุฒิสภาจัดทํารายชื่อผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือกนั้น และเสนอบัญชีรายชื่อ พร้อมประวัติและ เอกสารหลักฐานของบุคคลดังกล่าว ซึ่งต้องระบุให้ชัดเจนหรือมีหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มี ความเหมาะสมตามมาตรา 6 ต่อประธานวุฒิสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คัดเลือกเสร็จตามมาตรา 15 เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติเลือกต่อไป ในกรณีที่คณะกรรมการสรรหาไม่อาจสรรหาผู้สมควรได้รับเลือกเป็นกรรมการตามส่วนที่ 3 ให้แล้วเสร็จได้ภายในกําหนดเวลาตามมาตรา 15 ให้เลขาธิการวุฒิสภานํารายชื่อผู้สมควรได้รับเลือก เป็นกรรมการที่คณะกรรมการสรรหาดําเนินการแล้วเสร็จภายในกําหนดเวลา พร้อมประวัติและเอกสาร หลักฐานของบุคคลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าเป็นบุคคลที่มีความเหมาะสมตามมาตรา 6 เสนอต่อประธาน วุฒิสภาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คัดเลือกเสร็จตามมาตรา 15 เพื่อเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาและมีมติเลือก ต่อไป มาตรา 17 ให้วุฒิสภามีมติเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อที่เลขาธิการวุฒิสภาเสนอให้แล้วเสร็จ ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อ เพื่อให้ได้กรรมการตามมาตรา 6 โดยแต่ละด้านให้ผู้ที่ ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงตามลําดับเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ซึ่งจะต้องกระทําโดยวิธีลงคะแนนลับ แล้วแจ้ง
หน้า 64 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

ให้ผู้ได้รับเลือกทราบ และประธานวุฒิสภาจัดให้ผู้ได้รับการเลือกมาประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกกันเอง เป็นประธานกรรมการ แล้วนํารายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการและได้รับการเลือก เป็นกรรมการ แจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติเลือก เพื่อนายกรัฐมนตรี ดําเนินการนําความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป เมื่อล่วงพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมีผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการไม่ครบตามจํานวนที่กําหนด ในมาตรา 6 ให้ประธานวุฒิสภาแจ้งให้คณะกรรมการสรรหาดําเนินการสรรหาเพิ่มเติมตามมาตรา 15 วรรคสอง ตามจํานวนที่ไม่ครบ โดยต้องดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการสรรหา ได้รับแจ้ง ในกรณีที่วุฒิสภามีมติเลือกบุคคลเป็นกรรมการไม่ครบตามวรรคสองแต่มีจํานวนผู้ได้รับเลือกเป็น กรรมการไม่น้อยกว่าห้าคน ให้ประธานวุฒิสภานํารายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกเป็นกรรมการแจ้งให้นายกรัฐมนตรีทราบ และให้นายกรัฐมนตรีนํารายชื่อผู้ได้รับเลือกดังกล่าว ขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และให้กรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้โดยให้ถือว่า กสทช. ประกอบด้วยกรรมการ จํานวนดังกล่าว และให้กรรมการ กสทช. นั้น ประชุมร่วมกันเพื่อเลือกกรรมการคนหนึ่งทําหน้าที่ ประธานกรรมการชั่วคราว จนกว่าจะได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งประธานกรรมการตามวรรคสี่ เมื่อวุฒิสภาได้รับบัญชีรายชื่อเพิ่มเติมจากคณะกรรมการสรรหาตามวรรคสองแล้ว ให้วุฒิสภา ดําเนินการตามวรรคหนึ่งเพื่อเลือกบุคคลจากบัญชีรายชื่อนั้นให้ครบตามจํานวนที่กําหนดในมาตรา 6 ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบัญชีรายชื่อดังกล่าว และให้ประธานวุฒิสภาจัดให้ผู้ที่ได้รับเลือกเป็น กรรมการมาประชุมร่วมกับกรรมการตามวรรคสามเพื่อคัดเลือกผู้สมควรดํารงตําแหน่งประธานกรรมการให้แล้วเสร็จ ภายในยี่สิบวันนับแต่วันที่วุฒิสภามีมติเลือกกรรมการเพิ่มเติมแล้วแจ้งบัญชีรายชื่อกรรมการที่ได้รับเลือก และผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานกรรมการให้นายกรัฐมนตรีทราบเพื่อดําเนินการนําความกราบบังคมทูล เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งต่อไป ในกรณีที่ผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นประธานกรรมการเป็น กรรมการตามวรรคสาม ให้ผู้นั้นพ้นจากความเป็นกรรมการนับแต่วันที่ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ประธานกรรมการ วันที่วุฒิสภาจะดําเนินการเลือกตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงวันในสมัยประชุมรัฐสภา มาตรา 18 ในกรณีที่บุคคลที่จะได้รับการแต่งตั้งตามมาตรา 17 มีลักษณะต้องห้าม ตามมาตรา 8 (1) (2) หรือ (3) นายกรัฐมนตรีจะนําความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งได้ต่อเมื่อผู้นั้นได้ลาออกจากการเป็นบุคคลตามมาตรา 8 (1) หรือ (2) หรือแสดงหลักฐาน ให้เป็นที่เชื่อถือได้ว่าตนได้เลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพตามมาตรา 8 (3) แล้ว ซึ่งต้องกระทําภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับเลือก แต่ถ้าผู้นั้นมิได้ลาออก หรือมิได้เลิกประกอบอาชีพหรือวิชาชีพอิสระภายในเวลา ที่กําหนดให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยได้รับเลือกให้เป็นกรรมการ และให้คณะกรรมการสรรหาคัดเลือกบุคคลจาก รายชื่อผู้เข้ารับการคัดเลือกตามมาตรา 16 เพื่อเสนอวุฒิสภาให้ความเห็นชอบ”
หน้า 65 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

มาตรา 10 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ก่อนครบกําหนดตามวาระเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยห้าสิบวันให้สํานักงานเลขาธิการวุฒิสภา ดําเนินการจัดให้มีการเสนอชื่อและแต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว” มาตรา 11 ให้ยกเลิกความในวรรคสามของมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เมื่อมีกรณีตามวรรคหนึ่ง ให้กรรมการเท่าที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้และให้ถือว่า กสทช. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ แต่ทั้งนี้จะต้องมีจํานวนกรรมการไม่น้อยกว่าสี่คน” มาตรา 12 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มติของวุฒิสภาตามวรรคหนึ่งต้องได้คะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในห้าของจํานวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ โดยในการลงมตินั้นต้องนํารายงานของคณะกรรมการติดตามและประเมินผล การปฏิบัติงานที่ได้ส่งมายังวุฒิสภาตามมาตรา 72 มาพิจารณาประกอบด้วย” มาตรา 13 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 22/1 ของส่วนที่ 5 วาระการดํารงตําแหน่ง และการพ้นจากตําแหน่งของกรรมการ ในหมวด 1 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “มาตรา 22/1 ห้ามมิให้ผู้ซึ่งพ้นจากตําแหน่งกรรมการเป็นผู้ถือหุ้น หุ้นส่วน หรือดํารงตําแหน่งใด ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลอื่นใดบรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ หรือกิจการโทรคมนาคม เว้นแต่จะได้พ้นจากตําแหน่งมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี” มาตรา 14 ให้ยกเลิกความใน (1) ของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(1) จัดทําแผนแม่บทการบริหารคลื่นความถี่ ตารางกําหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ แผนแม่บท กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม แผนความถี่วิทยุและแผนเลขหมาย โทรคมนาคม และดําเนินการให้เป็นไปตามแผนดังกล่าว แต่แผนดังกล่าวต้องสอดคล้องกับนโยบายและ แผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม”
หน้า 66 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

มาตรา 15 ให้ยกเลิกความใน (4) ของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) พิจารณาอนุญาตและกํากับดูแลการใช้คลื่นความถี่และเครื่องวิทยุคมนาคมในการประกอบ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือในกิจการวิทยุคมนาคม และกําหนด หลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตดังกล่าว ในการนี้ กสทช. จะมอบหมายให้สํานักงาน กสทช. เป็นผู้อนุญาตแทน กสทช. เฉพาะการอนุญาตในส่วนที่ เกี่ยวกับเครื่องวิทยุคมนาคมตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กสทช. กําหนดก็ได้” มาตรา 16 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (12/1) ของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “(12/1) เรียกคืนคลื่นความถี่ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่คุ้มค่าหรือนํามาใช้ประโยชน์ ให้คุ้มค่ายิ่งขึ้น ตามที่กําหนดไว้ในแผนซึ่งจัดทําขึ้นตาม (1) จากผู้ที่ได้รับอนุญาตเพื่อนํามาจัดสรรใหม่ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ กสทช. กําหนด โดยเงื่อนไขดังกล่าวต้องกําหนดวิธีการ ทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทนสําหรับผู้ที่ถูกเรียกคืนคลื่นความถี่โดยให้คํานึงถึงสิทธิของผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากการถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ในแต่ละกรณีด้วย” มาตรา 17 ให้ยกเลิกความใน (14) ของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(14) ประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ โดยเป็น หน่วยงานอํานวยการของรัฐในกิจการสื่อสารระหว่างประเทศกับองค์การระหว่างประเทศ รัฐบาล และ หน่วยงานต่างประเทศด้านการบริหารคลื่นความถี่ รวมทั้งสนับสนุนกิจการของรัฐเพื่อให้มีดาวเทียมหรือ ให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนซึ่งจัดทําตาม (1) และ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” มาตรา 18 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (22/1) ของมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “(22/1) ให้ข้อมูลที่เกี่ยวกับการดําเนินการของ กสทช. และผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก กสทช. ทั้งนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับดิจิทัลตามที่สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร้องขอเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และจัดทํานโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม”
หน้า 67 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

มาตรา 19 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 27/1 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “มาตรา 27/1 ในกรณีที่มีปัญหาว่าการดําเนินการของ กสทช. สอดคล้องกับนโยบายและ แผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเสนอคณะกรรมการ ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อวินิจฉัย ชี้ขาด ในการวินิจฉัยชี้ขาด ให้คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณาเสนอแนะต่อคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยให้คณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้แทนจากคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติคนหนึ่งเป็นประธาน กรรมการ และผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ กสทช. จํานวนเท่า ๆ กัน เป็นกรรมการ คําวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด” มาตรา 20 ให้ยกเลิกความในมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 33 ให้ กสทช. มีอํานาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่ กสทช. มอบหมายได้ตามความจําเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับอํานาจหน้าที่ของ กสทช. ในการปฏิบัติหน้าที่ คณะอนุกรรมการที่ได้รับแต่งตั้งจะมอบหมายให้บุคคลอื่นดําเนินการแทน ไม่ได้ และการสั่งการใด ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายนั้นจะต้องรายงานให้ กสทช. ทราบ ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ กสทช. กําหนด อนุกรรมการต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 7 ข.” มาตรา 21 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 33/1 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “มาตรา 33/1 กสทช. อาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ ตามความจําเป็นและเหมาะสมสอดคล้องกับอํานาจหน้าที่ของ กสทช. โดยพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ต้องรายงานการปฏิบัติหน้าที่ให้ กสทช. ทราบ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กสทช. กําหนด” มาตรา 22 ให้ยกเลิกความในมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หน้า 68 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

“มาตรา 34 ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ กสทช. และคณะกรรมการ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานมีอํานาจสั่งหน่วยงานของรัฐหรือบุคคลใดให้ชี้แจงข้อเท็จจริง มาให้ถ้อยคํา หรือส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาได้” มาตรา 23 ให้ยกเลิกส่วนที่ 1 คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และส่วนที่ 2 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม มาตรา 35 ถึงมาตรา 40 ในหมวด 2 การกํากับ ดูแลการประกอบกิจการ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 24 ให้ยกเลิกความในวรรคสี่ของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ต้องคํานึงถึง ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมและ ต้องดําเนินการในลักษณะที่มีการกระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ ด้านการบริการสาธารณะแก่ประชาชน เพื่อให้คลื่นความถี่เหมาะสมแก่การเป็นสมบัติของชาติ เพื่อใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชน” มาตรา 25 ให้ยกเลิกความในวรรคหกของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “ในกรณีที่เป็นการอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ให้ใช้ วิธีคัดเลือกทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับท้องถิ่น โดยให้แยกกันในแต่ละระดับ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกําหนด แต่ในกรณีที่เป็นการประกอบกิจการทางธุรกิจ ตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ การคัดเลือกให้ทํา โดยวิธีการประมูล โดย กสทช. ต้องกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขก่อนการประมูล ซึ่งต้องคํานึงถึงประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับด้วย” มาตรา 26 ให้ยกเลิกความในวรรคแปดของมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
หน้า 69 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

“การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ที่ก่อให้เกิดหรือ อาจเกิดการรบกวนหรือทับซ้อนกับคลื่นความถี่ที่ได้รับอนุญาตอยู่ก่อนแล้วจะกระทํามิได้ ในกรณีที่ปรากฏว่า เกิดการรบกวนหรือทับซ้อนของคลื่นความถี่ใด ๆ อันเป็นผลจากการละเมิดกฎหมาย กสทช. ต้องดําเนินการระงับ การรบกวนหรือทับซ้อนนั้นโดยเร็ว” มาตรา 27 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคเก้าและวรรคสิบของมาตรา 41 แห่ง พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “คลื่นความถี่ที่ กสทช. อนุญาตให้ผู้รับใบอนุญาตใช้ตามวรรคหนึ่ง กสทช. อาจกําหนดเป็น เงื่อนไขไว้ล่วงหน้าในใบอนุญาตว่า กสทช. อาจอนุญาตให้บุคคลอื่นร่วมใช้ประโยชน์ในย่านความถี่หรือ ช่องความถี่จากคลื่นความถี่ที่ได้อนุญาตไว้แล้วนั้นได้ แต่การอนุญาตนั้นจะต้องไม่เป็นการรบกวนการใช้ประโยชน์ หรือเป็นการแข่งขันกับกิจการของผู้ได้รับใบอนุญาต ทั้งนี้ เว้นแต่จะได้ประกาศให้ทราบทั่วกันไว้เป็นอย่างอื่น ในการคัดเลือกหรือในการอนุญาต เมื่อ กสทช. อนุญาตให้ผู้ใดใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์แล้ว ให้แจ้งไปยังคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อ เศรษฐกิจและสังคมทราบ” มาตรา 28 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไข เพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 42 ให้ กสทช. มีอํานาจกําหนดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามมาตรา 41 โดยแยกเป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบกิจการ ซึ่งต้องชําระเมื่อได้รับใบอนุญาตและต้องชําระเป็นรายปีในอัตราที่เหมาะสมกับประเภทของใบอนุญาต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เว้นแต่ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต ให้ใช้คลื่นความถี่เพื่อประกอบกิจการทางธุรกิจ ให้ถือว่าเงินที่ได้จากการประมูลตามมาตรา 41 วรรคหก เป็นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ซึ่งต้องชําระเมื่อได้รับใบอนุญาต และภายใต้บังคับมาตรา 53 (8/1) เงินที่ได้จากการประมูลดังกล่าวเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการประมูล และเงินที่ต้องนําส่งเข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้วเหลือเท่าใดให้นําส่ง เป็นรายได้แผ่นดิน”
หน้า 70 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

มาตรา 29 ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 45 ผู้ใดประสงค์จะใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการโทรคมนาคมต้องได้รับใบอนุญาต ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งต้องดําเนินการโดยวิธีคัดเลือกโดยวิธีการประมูลคลื่นความถี่ เว้นแต่ในกรณีเป็นคลื่นความถี่ ที่มีเพียงพอต่อการใช้งานหรือนําไปใช้ในกิจการบางประเภทที่ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากําไร ตามลักษณะ และประเภทที่ กสทช. ประกาศกําหนดไว้เป็นการล่วงหน้า จะใช้วิธีการคัดเลือกโดยวิธีอื่นก็ได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลาและเงื่อนไขที่ กสทช. ประกาศกําหนด โดยให้นําความใน มาตรา 41 วรรคสี่ วรรคเจ็ด วรรคเก้า และวรรคสิบมาใช้บังคับโดยอนุโลม และภายใต้บังคับ มาตรา 53 (8/1) เงินที่ได้จากการคัดเลือกเมื่อหักค่าใช้จ่ายในการคัดเลือก และเงินที่ต้องนําส่ง เข้ากองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคมแล้วเหลือเท่าใดให้นําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน” มาตรา 30 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคห้าของมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “ในการดําเนินการตามแผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคม ตามวรรคหนึ่ง ให้ กสทช. มีอํานาจมอบหมายให้สํานักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติดําเนินการทั้งหมดหรือบางส่วนแทนได้ ในกรณีเช่นนั้นให้ กสทช. โอนเงินที่เรียกเก็บได้ตามวรรคสาม และที่กําหนดไว้ตามวรรคสี่ให้แก่กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเพื่อดําเนินการต่อไป” มาตรา 31 ให้ยกเลิกความใน (6) ของมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 80/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ลงวันที่ 9 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 และให้ใช้ความ ต่อไปนี้แทน “(6) สนับสนุนการใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งสนับสนุนการเรียกคืนคลื่นความถี่ ที่มีผู้ได้รับอนุญาตไป เพื่อนํามาจัดสรรใหม่และสนับสนุนการทดแทน ชดใช้ หรือจ่ายค่าตอบแทน การถูกเรียกคืนคลื่นความถี่ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้คลื่นความถี่”
หน้า 71 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

มาตรา 32 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (8/1) ของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “(8/1) เงินรายได้ที่ได้จากการจัดสรรคลื่นความถี่ที่ได้รับคืนตามมาตรา 27 (12/1) ภายหลังหักค่าใช้จ่ายในการจัดสรรคลื่นความถี่ดังกล่าวแล้ว” มาตรา 33 ให้ยกเลิกความในวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “เงินกองทุนให้ใช้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามมาตรา 52 และตามแผนการจัดให้มีบริการ โทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริการเพื่อสังคมตามมาตรา 50 เว้นแต่วัตถุประสงค์ของกองทุน ตามมาตรา 52 (6) ให้ใช้เงินจากกองทุนตาม (8/1) เท่านั้น เงินกองทุนตาม (8/1) ถ้ากระทรวงการคลังเห็นว่ามีเกินความจําเป็นหรือหมดความจําเป็นต้องใช้ จะขอให้นําส่วนที่เกินจําเป็นส่งเข้าเป็นรายได้แผ่นดินก็ได้” มาตรา 34 ให้ยกเลิกความใน (2) ของมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(2) จัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีของสํานักงาน กสทช. เพื่อเสนอ กสทช. อนุมัติ โดยรายจ่าย ประจําปีของสํานักงาน กสทช. ให้หมายความรวมถึงรายจ่ายใด ๆ อันเกี่ยวกับการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ ของ กสทช. คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน และสํานักงาน กสทช. งบประมาณ รายจ่ายประจําปีดังกล่าวต้องจัดทําโดยคํานึงถึงความคุ้มค่า การประหยัด และประสิทธิภาพ รายการ หรือโครงการใดที่ตั้งงบประมาณไว้แล้วและมิได้จ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในปีงบประมาณนั้น ให้รายการหรือโครงการนั้นเป็นอันพับไปและให้สํานักงาน กสทช. นําส่งงบประมาณสําหรับรายการหรือ โครงการดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดิน” มาตรา 35 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ ของมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “ในการจัดทํางบประมาณรายจ่ายประจําปีตาม (2) ก่อนที่สํานักงาน กสทช. จะเสนอ กสทช. อนุมัติ ให้สํานักงาน กสทช. เสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจําปีต่อคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็น และให้สํานักงาน กสทช. พิจารณาดําเนินการ แก้ไขหรือปรับปรุงร่างงบประมาณรายจ่ายประจําปีดังกล่าว เว้นแต่งบประมาณรายจ่ายประจําปีในส่วนของ คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ให้สํานักงาน กสทช. เสนอไปยังคณะกรรมการ ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อดําเนินการแก้ไขหรือปรับปรุง ในกรณีที่ สํานักงาน กสทช.
หน้า 72 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

หรือคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน แล้วแต่กรณี ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ คณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้สํานักงาน กสทช. เสนอร่างงบประมาณ รายจ่ายประจําปีดังกล่าวพร้อมความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อ กสทช. เพื่อพิจารณาต่อไป เมื่อ กสทช. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจําปีของสํานักงาน กสทช. ตามวรรคสองแล้ว ให้สํานักงาน กสทช. เปิดเผยงบประมาณรายจ่ายประจําปีนั้นพร้อมทั้งรายการหรือโครงการที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ ให้ประชาชนทราบทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ หรือวิธีการอื่นที่เข้าถึงได้โดยสะดวก ให้คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานเสนองบประมาณรายจ่ายต่อสํานักงาน กสทช. เพื่อจัดสรรเป็นงบประมาณของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน ไว้ในร่างงบประมาณ รายจ่ายประจําปีของสํานักงาน กสทช. ในการนี้ สํานักงาน กสทช. อาจทําความเห็นเกี่ยวกับการจัดสรร งบประมาณดังกล่าวไว้ในรายงานการเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายประจําปีก็ได้” มาตรา 36 ให้ยกเลิกความใน (7) ของมาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(7) การจ้างและการแต่งตั้งบุคคลเพื่อเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือเป็นผู้ชํานาญการเฉพาะด้านอันจะ เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ กสทช. รวมทั้งจํานวนและอัตราค่าตอบแทนของตําแหน่งดังกล่าว ทั้งนี้ โดยให้คํานึงถึงการปฏิบัติงานและระยะเวลาการปฏิบัติงานของตําแหน่งนั้นด้วย” มาตรา 37 ให้ยกเลิกความใน (4) ของมาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “(4) รายละเอียดของอัตราค่าตอบแทนกรรมการ จํานวนคณะอนุกรรมการและอัตราค่าตอบแทน ของอนุกรรมการเป็นรายบุคคล และอัตราค่าตอบแทนที่ปรึกษาที่ กสทช. แต่งตั้งเป็นรายบุคคล” มาตรา 38 ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา 65 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “รายได้ของสํานักงาน กสทช. ตาม (1) และ (2) เมื่อได้หักรายจ่ายสําหรับการดําเนินงาน อย่างมีประสิทธิภาพของสํานักงาน กสทช. ค่าภาระต่าง ๆ ที่จําเป็น เงินที่จัดสรรเพื่อสมทบกองทุน ตามมาตรา 52 กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ และกองทุน พัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแล้ว เหลือเท่าใดให้นําส่งเป็นรายได้แผ่นดิน”
หน้า 73 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

มาตรา 39 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสี่ของมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติองค์กร จัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการ โทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “ในเวลาใด ๆ ที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบว่าการใช้จ่ายเงินและทรัพย์สินของ สํานักงาน กสทช. ไม่เกิดประสิทธิผล หรือเป็นการฟุ่มเฟือยเกินสมควร หรือการดําเนินการใดไม่ถูกต้อง ตรงตามแผน หรือจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวม ให้สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดิน แจ้งให้ กสทช. ทราบ และให้ กสทช. ดําเนินการปรับปรุงแก้ไขหรือระงับการดําเนินการตามควร แก่กรณีภายในระยะเวลาที่สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินกําหนด และหากปรากฏว่า กสทช. ไม่ดําเนินการภายในระยะเวลาดังกล่าวโดยไม่มีเหตุอันควร สํานักงานการตรวจเงินแผ่นดินอาจพิจารณา รายงานต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป” มาตรา 40 ให้ยกเลิกความในมาตรา 74 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา 74 ในการดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ กสทช. ต้องดําเนินการให้สอดคล้องกับ นโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา และต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนา ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม” มาตรา 41 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 76/1 ในหมวด 8 บทกําหนดโทษ แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 “มาตรา 76/1 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 22/1 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท” มาตรา 42 ให้กรรมการ กสทช. ซึ่งดํารงตําแหน่งอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงดํารงตําแหน่งต่อไปจนกว่าจะครบวาระ หรือพ้นจากตําแหน่งเพราะเหตุอื่น ในกรณีที่มีตําแหน่งว่างลง ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้กรรมการ กสทช. ประกอบด้วยกรรมการเท่าที่เหลืออยู่ เว้นแต่มีกรรมการ กสทช. เหลือไม่ถึงสี่คน ให้กรรมการ กสทช. ที่เหลืออยู่พ้นจากตําแหน่งโดยให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตําแหน่ง ตามวาระ และให้ดําเนินการแต่งตั้งกรรมการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และ กํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ในระหว่างที่ยังมิได้แต่งตั้งกรรมการ กสทช. ดังกล่าว ให้กรรมการ กสทช. ที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ตามที่จําเป็นไปพลางก่อน จนกว่ากรรมการ กสทช. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัตินี้ เข้ารับหน้าที่
หน้า 74 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

ในกรณีที่ผู้ที่พ้นจากตําแหน่งตามวรรคหนึ่งเป็นผู้ดํารงตําแหน่งประธานกรรมการ กสทช. ให้กรรมการ กสทช. ที่เหลืออยู่เลือกกรรมการ กสทช. คนหนึ่งทําหน้าที่ประธานกรรมการ กสทช. ต่อไป มิให้นําบทบัญญัติเกี่ยวกับคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม และการพ้นจากตําแหน่งของ กรรมการ กสทช. ตามพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตาม พระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับกับกรรมการ กสทช. ตามวรรคหนึ่ง โดยให้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ใน พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ การพ้นจากตําแหน่งของกรรมการ กสทช. ตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าเป็นการพ้นจากตําแหน่ง ตามวาระตามความในมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 43 บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบหรือคําสั่งอื่นใดอ้างถึง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม ตามกฎหมาย ว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคม ให้ถือว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ หรือคําสั่งนั้นอ้างถึง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มาตรา 44 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
ผู้รับสนองพระราชโองการ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
หน้า 75 เล่ม 134 ตอนที่ 65 ก ราชกิจจานุเบกษา 22 มิถุนายน 2560

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อทําหน้าที่ ในการจัดทํานโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งกําหนดให้หน่วยงานของรัฐ ต้องดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ให้สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการดําเนินการที่กําหนดไว้ในนโยบาย และแผนระดับชาติ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อแนวทางการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเทคโนโลยีแล้ว จึงต้องแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้อง กับนโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าว ประกอบกับเทคโนโลยีเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ในปัจจุบัน มีความเจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้นและเพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับ การประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมและสาธารณะมากยิ่งขึ้น กรณีจําเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและอํานาจหน้าที่ ให้สามารถรองรับในเรื่องดังกล่าว จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

ดาวน์โหลดต้นฉบับ : พระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกํากับการประกอบกิจการ วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้