Last updated: 19 ธ.ค. 2565 | 4005 จำนวนผู้เข้าชม |
กสทช. เผย อนาคตคนสื่อที่จะรอดต้องพัฒนาทักษะ อีก 6 ปี ใบอนุญาตประกอบการทีวีดิจิทัล หมดอายุในปี 2572 ไม่ชัดเจนจะเปิดประมูลในรูปแบบเดิมหรือไม่ เชื่อว่าจะมีจำนวนผู้ประกอบการลดลง และเหลือตัวจริงเพียงไม่กี่ช่อง โดยต้องอาศัยการปรับตัวของสื่อหลายฮย่างเพื่อให้ไปต่อได้
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย จัดเวทีเสวนา "อนาคตคนสื่อทีวิดิจิทัล หลังใบอนุญาตหมดอายุ" บนความท้าทายของทีวีดิจิทัล กับ 6 ปี บอร์ด กสทช. และ 6 ปี เวลาของใบอนุญาตที่เหลืออยู่ ว่าหลังจากครบ 15 ปี แล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไป ผู้ถือครองใบอนุญาตรายเดิมมีใครจะไปต่อ หรือ ใครอยากจะพอแค่นี้! ขณะ "กสทช. มีแผนและนโยบายบริหารจัดการอย่างไรกับการออกใบอนุญาตทีวีดิจิทัลครั้งต่อไป และ ‘อนาคตคนสื่อทีวิดิจิทัล หลังใบอนุญาตหมดอายุ” จะไปในทิศทางใด จะถูกเลิกจ้างหรือไม่ แล้วจะต้องปรับตัวและพัฒนาทักษะอย่างไร เพื่อให้ได้ไปต่อในอุตสาหกรรมสื่อทีวีดิจิทัล
ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กรรมการ กสทช. ด้านกิจการโทรทัศน์ เปิดเผยว่า อนาคตคนสื่อทีวีดิจทัล ต้องพัฒนาทักษะให้มีความสามารถรอบด้าน เริ่มกระบวนการเทรนด์บุคคลากรที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมสื่อ เริ่มตั้งแต่มหาวิทยาลัย ่นักศึกษา และ นักวิชาการ ร่วมกับ ผู้ประกอบธุรกิจสื่อ และ กสทช. รวมทั้งองค์กรหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง "ทุกฝ่ายต้องร่วมเตรียมความพร้อมไปด้วยกัน" สำหรับใบอนุญาตทีวีดิทัลจะหมดในปี 2572 ซึ่งมีประเด็นที่ต้องคำนึงถึงนั่นคือประเด็น การจัดสรรคลื่นความถี่ กับความยั่งยืนของโทรทัศน์ภาคพื้นดิน คือ คือการปรับเปลี่ยนสู่ 4k และผลกระทบต่อการจัดสรรคลื่น การเคลื่อนย้ายแพลตฟอร์ม การหดตัวหรือค่อยหายไปของโทรทัศน์ภาคพื้นดิน สำหรับแนวโน้มของการลดย่านความถี่ ความเป็นไปได้ในการแทนที่ระบบทีวีดิจิทัลและความท้าทายเชิงเทคโนโลยีกับการเข้าถึงเนื้อหาอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ตามพฤติกรรมของคนดูหรือเทคโนโลยีในปัจจุบันหรืออนาคต
อย่างสถานีโทรทัศน์ BBC ของอังกฤษ หรือองค์การกระจายเสียงสาธารณะของสหราชอาณาจักร ได้วางแผนที่จะปิดสวิตช์ทีวีภาคพื้นดินและจะให้บริการผ่านแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตเท่านั้นในอนาคต ในปี 2030 สำหรับประเด็นการตั้งคำถามว่า สำหรับประเทศไทย อุตสาหกรรมสื่อทีวี จะนำไปสู่ระบบในตลาดอินเทอร์เน็ตทั้งหมดได้หรือไม่ เป็นสิ่งที่น่าคิด แต่ต้องยอมรับว่า ปัจจุบันระบบอินเทอร์เน็ต เข้าถึงพื้นที่ในประเทศไทย เพียง 57% เท่านั้น นั่นหมายความว่า ทีวียังสำคัญกับการเข้าถึงอย่างเท่าเทียม สำหรับในอนาคตของประเทศไทยซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนหลายอย่างเพื่อที่จะเข้าสู่ระบบ 4K เพื่อให้เข้าถึงประชาชนอย่างเท่าเทียมซึ่งน่ากังวลว่าระบบการถ่ายทอดแบบ 4k สิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งเรื่องโครงสร้างและการผลิต ทั้งการส่งและการรับ
ด้านธุรกิจทีวี กับ" ดิจิทัล ดิสรัปชัน"ต้องอาศัยกลยุทธ์การปรับตัวของทีวี หากเปรียบเทียบอุตสาหกรรมทีวีไทยกับทีวีเกาหลีซึ่งในเกาหลีจะมีประชากรประมาณ 51 ล้านคนน้อยกว่าประเทศไทย 20 ล้านคน แต่ประเทศเกาหลีมีทีวีช่องสาธารณะไม่ถึง 5 ช่อง ต่างจากไทยที่มีทีวีดิจิทัลจำนวนมาก แต่อุตสาหกรรมทีวีในประเทศไทยจะเห็นว่าผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลหลายคนเริ่มมีแพลตฟอร์มที่จะรองรับเนื้อหาสาระที่ผลิตมานอกเหนือจากการออกอากาศทางทีวีเท่านั้น แต่ทุกวันยังมีแอปพลิเคชั่นต่างๆ ในการนำเนื้อหาไปเผยแพร่ควบคู่อีกด้วย โดยการต่อยอดเนื้อหาที่ผลิตเพื่อหารายได้จากทรัพย์สินทางปัญญา นับว่าเป็นเรื่องสำคัญ ที่ผู้ประกอบการจะต้องทำเพื่อสร้างภาพจดจำและความน่าสนใจให้กับคนดู โดยประเทศเกาหลีได้ใช้ยุทธศาสตร์การสร้างแบบ OS MO มุ่งเน้นการผลิตเนื้อหาบนแพลตฟอร์มต่างๆ ให้เชื่อมโยงเข้าถึงกัน ซึ่งผู้ประกอบการทีวีดิทัล ในประเทศไทยก็ได้มีการปรับเปลี่ยนแล้ว สำหรับการดำรงอยู่ของโทรทัศน์ภาคพื้นดินในฐานะโครงสร้างพื้นฐานด้านการไฟฟ้าในระดับสาธารณะ ซึ่งผู้ประกอบการและผู้ผลิตเนื้อหาต้องคำนึงถึงความหลากหลายของเนื้อหาที่โดดเด่นในเชิงคุณค่าและความแตกต่างจากเนื้อหาบนแพลตฟอร์มอื่นด้วยทั้งนี้ต้องอาศัยการปรับตัวในทุกมิติของผู้ประกอบการและนักวิชาชีพวงการวิทยุและโทรทัศน์เป็นสำคัญ
โดย ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต กสทช.ด้านกิจการโทรทัศน์ มองว่า ในอนาคตเป็นไปได้ที่ใบอนุญาตผู้ประกอบการจะมีจำนวนลดลง ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพสื่อจะต้องมีการเพิ่มทักษะให้ครอบคลุมสามารถทำได้หลายๆ อย่างเพื่อให้สามารถทำวิชาชีพนี้ต่อไปได้ ระหว่างนี้สื่อมวลชนจะต้องปรับตัวหลายอย่างทั้งทักษะความรู้ความสามารถของตัวเอง รวมถึงการศึกษาความนิยมของคน ดูในยุคปัจจุบันจึงต้องอาศัยการปรับตัวทั้งหมดเลย สำหรับในอนาคตหากใบอนุญาตทีวีดิทัลหมดลงในปี 2572 ก็ยังไม่ได้ผลสรุปว่าจะมีการออกใบอนุญาตด้วยการเปิดประมูลหรือไม่อย่างไร ซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนรูปแบบกฎหมาย หากต้องเปิดรับจะต้องหาคนที่เป็นมืออาชีพและคนที่เป็นตัวจริงในวงการสื่อในการรับใบอนุญาต โดยส่วนตัวมองว่าไม่เห็นด้วยกับการเปิดประมูลใบอนุญาตในรูปแบบเดิม
18 ส.ค. 2567