Last updated: 12 ธ.ค. 2560 | 2299 จำนวนผู้เข้าชม |
กฏหมาย ป.ป.ช.มาตรา 103, 103/7 และ 103/8 แยกแยะผลประโยชน์ออกจากระบบอุปถัมภ์
ด้วยสถานการณ์หรือสภาวการณ์ของการขัดกันของผลประโยชน์ในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญอันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ยิ่งมีสถานการณ์ หรือสภาวการณ์ของการขัดกันของผลประโยชน์ส่วนตนและผลประโยชน์ส่วนรวมมากเท่าใด ก็ยิ่งมีโอกาสก่อให้เกิด หรือนำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชั่นมากเท่านั้น นี่คือที่มาของมาตรา 103 พระราชบัญญัติการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ ที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ออกกฎหมายมาเพื่อรองรับโดยเฉพาะ
ที่มาของบทบัญญัติในมาตรา 103 ของ พ.ร.บ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ ว่ามีต้นเรื่องมาจากรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ออกเป็นกฎหมาย ป.ป.ช.ในปี 2542 แต่แรกคิดว่าจะใช้บังคับกับเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน แต่คนไทยยังไม่คุ้นกับคำว่าผลประโยชน์ทับซ้อน คุ้นเคยกับระบบอุปถัมภ์ ไม่เคยแยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากส่วนรวม ในต่างประเทศแทรกแซงถึงครอบครัว ถึงญาติพี่น้อง แต่ของไทย แค่คู่สมรส ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐ ต่องเริ่มที่ระดับสูงก่อน
มาตรา 103 กล่าวถึงการรับทรัพย์ หรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยา คือการรับทรัพย์สินจากญาติพี่น้อง หรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติขนบธรรมเนียมประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม เช่น ญาติหรือเพื่อนให้ของขวัญในวันเกิด หรือวันปีใหม่ ต้องพิจารณาว่ามีวัตถุประสงค์ในการให้อย่างไร เช่น ญาติให้โดยเสน่หาตามจำนวนที่เหมาะสม ตามฐานานุรูป พิจารณาจากตัวของผู้ให้ไม่ใช่ผู้รับ หรือกรณีรับจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติ มูลค่าไม่เกิน 3,000 เช่น การรับของขวัญในวันคล้ายวันเกิด ส่วนความหมายของคำว่า แต่ละโอกาส หมายถึง ผู้ให้เคยมอบของขวัญให้ในวันคล้ายวันเกิดราคา 2,000 บาท และมอบของขวัญปีใหม่ราคา 2,000 บาท ถือว่าคนละโอกาส และไม่เกิน 3,000 หรือรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่การให้นั้นเป็นการให้ได้ในลักษณะให้กับบุคคลทั่วไป เช่น หนังสือที่ระลึกในงานครบรอบวันเกิด ไม่ได้กำหนดราคาหรือมูลค่า เจ้าหน้าที่ของรัฐอาจรับได้โดยไม่มีกำหนด
การให้ทรัพย์สินแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ต้องดูว่าการรับทรัพย์สินนั้น ให้โดยธรรมจรรยาหรือไม่ ถ้าไม่ได้ให้โดยธรรมจรรยา เป็นการรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดเป็นการส่วนตัว หรือมีราคา หรือมูลค่าเกินกว่า 3,000 บาท เจ้าหน้าที่ของรัฐมีเหตุผลความจำเป็นที่จะต้องรับเพื่อรักษาไมตรี มิตรภาพหรือความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล ให้รายงานรายละเอียดข้อเท็จจริงให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว หากผู้บังคับบัญชาเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ยึดถือไว้เป็นประโยชน์ส่วนบุคคล ให้ส่งมอบทรัพย์สินให้หน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่โดยทันที แต่ถ้าเป็นผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ หน่วยงาน หรือสถาบัน หรือองค์กรที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัด มีคำสั่งว่า ไม่สมควรรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์ดังกล่าว ก็ให้คืนทรัพย์สินหรือประโยชน์นั้นแก่ผู้ให้โดยทันที แต่ถ้าคืนไม่ได้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้น ส่งมอบทรัพย์สิน หรือประโยชน์ให้เป็นสิทธิ์ของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดโดยเร็ว
"เป็นจริยธรรมของผู้ที่มีหน้าที่การงานที่ต้องสำนึกไว้เสมออยู่แล้ว เช่น ผู้พิพากษา ซึ่งตรงกันข้ามกับพระ ที่ใครนำอะไรมาใส่บาตรก็ต้องรับ แต่ผู้พิพากษารับไม่ได้เลย เพื่อไม่ให้เกิดอคติในใจ สมัยโบราณเขาให้โจทก์กับจำเลยไปนอนที่บ้านผู้พิพากษา ใครนำอะไรมาส้มสุกลูกไม้มาให้ไม่ได้ แต่ปัญหาตอนนี้คือ จะรณรงค์อย่างไรเพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่า ไม่ใช่มูลค่า 3,000 บาทเท่านั้นที่รับไม่ได้ แต่เป็นเรื่องของเจตนารมณ์กฎหมาย ถ้าไม่รับของใคร ก็จบ"
รายการ “ภารกิจพิชิตโกง”
ผู้ดำเนินรายการ
ผู้ผลิตรายการ
ห้องบันทึกเสียง
ผู้ควบคุมรายการ
รูปแบบรายการ
วิธีการดำเนินงาน
งบประมาณสนับสนุน
ช่องทางการเชื่อมโยงสัญญาณถ่ายทอดเสียง
ช่องทางการส่งกระจายเสียง ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
ฟังรายการย้อนหลังผ่านยูทูป ช่องวีดีโอ chorsaard